เบรค ABS และเบรค No ABS ระบบเบรคสองระบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และสำหรับ Bigbike แล้วระบบเบรคแบบ ABS และ No ABS แบบไหนเหมาะที่สุดสำหรับสาวกสองล้อ ดังนั้นวันนี้ทางเว็บไซต์ bigbikeinfo.com จะมาอธิบายความแตกต่างของระบบเบรคทั้งสองระบบนี้ให้กับสาวกสิงห์สองล้อทุกคนได้รู้จัดกันว่าทั้งสองระบบนี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างไร และประโยชน์ของระบบเบรคนี้ดีแค่ไหน
ทำความรู้จักกับระบบ เบรค ABS และ No ABS
ระบบเบรค abs หลายต่อหลายคนคงได้รู้จักและคงคุ้นเคยหรือได้ยินเกี่ยวกับระบบเบรค ABS กันมาพอสมควร ยิ่งในช่วงที่ผ่านมาที่มีข่าวเกี่ยวกับ นักวิชาการที่ได้ออกมาการันตีและรณรงค์ให้ติดตั้งระบบเบรค ABS จนมีกระแสว่าในปี 63 นี้ จะมีการบังคับให้มีการติดระบบเบรค ABS ให้กับรถจักรยานยนต์ใหม่ทุกคัน เพราะในปัจจุบันหลายๆ คนยังคงคิดว่ารถของท่านเองนั้นใช้รถที่มีการติดตั้งระบบเบรค ABS อยู่เพราะดูจากจานเบรค แต่แท้ที่จริงแล้วนั้นเบรคที่คุณใช้อยู่นั้นอาจจะเป็น No ABS ก็ได้ ดังนั้น วันนี้ทางเว็บไซต์ Bigbikeinfo.com จะมาอธิบายใก้ทุกคนได้ทราบเกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่าง ABS และ No ABS นั้นต่างกันอย่างไร
ระบบเบรค ABS (ระบบเบรคป้องกันล้อล็อก)
สำหรับระบบเบรคแบบ ABS เป็นชื่อเรียกที่เรียกกันติดหูกันเป็นประจำซึ่งย่อมาจาก Anti-Lock Brake System หรือระบบป้องกันการเบรคจนล้อล็อกตายเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเบรคแล้วเกิดการลื่นไถลของตัวรถ โดยระบบ ABS จะมีส่วนประกอบของฟันเฟืองวงแหวนที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุน เซนเซอร์ติดตั้งอยู่ใกล้กับฟันเฟือง โดยในระบบเบรค ABS จะสั่งการผ่านเซ็นเซอร์ตัวนี้เพื่อใช้ในการปั้มเบรคไม่ทำงาน การทำงานของระบบ ABS จะทำงานโดยการจับ และ ปล่อยผ้าเบรคที่ 16-50 ครั้ง/วินาที ซึ่งระบบ ABS นั้นช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางได้ในขณะที่เหยียบเบรคกะทันหัน และสิ่งกีดขวางที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากท่านต้องการทราบว่าระบบเบรค ABS มีหน้าที่อะไรและทำงานอย่างไร ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ ระบบเบรค abs คืออะไร
ข้อเสียของระบบเบรคแบบ ABS
- เมื่อระบบเบรคทำงานจะมีเสียงดัง อาจทำให้ผู้ขับขี่ตกใจได้
- มีค่าซ่อมบำรุงแพงกว่าเบรคธรรมดา
- ผู้ขับขี่จะได้รับแรงสะเทือนเมื่อระบบเบรคทำงาน
- ทำให้ระยะเบรคยาวขึ้น
ข้อดีของระบบเบรคแบบ ABS
- ป้องกันล้อล็อกเมื่อต้องเบรคกะทันหัน
- ยางไม่สึกหรอเร็วกว่าปกติ
- สามารถหักหลบสิ่งกีดขวางได้
ระบบเบรค No ABS (เบรคธรรมดา )
สำหรับระบบเบรคแบบ No ABS หรือ เบรคธรรมดา จะพบเห็นกันบ่อยๆ ในรถจักรยานยนต์ทั่วไปซึ่งเป็นรถที่เป็นปีที่เก่าๆ สำหรับการใช้เบรคธรรมดาในขณะที่เราทำการกำเบรคลงที่มือเบรคเพื่อต้องการชะลอและหยุดรถนั้น การกำเบรคจะถูกส่งไปยังแม่ปั้มเบรคที่เรียกว่า (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่ในการอัดแรงดันน้ำมันของเบรคออกไปทางท่อน้ำมันเบรคผ่านวาล์วแยก ไปถึงตัวเบรคหรือปั๊มเบรคที่จะถูกติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อของรถจักรยานยนต์และรถบิ๊กไบค์ของเรา
โดยการทำงานของปั๊มเบรคเมื่อมีแรงดันน้ำมันลูกปั๊มเบรคจะทำหน้าที่ดันแผ่นผ้าเบรคให้ไปเสียดสีและเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้กับจานดิสเบรคเพื่อทำหน้าที่ชะลอความเร็วของรถให้มีความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง ซึ่งในระบบเบรคธรรมดาหรือระบบเบรคแบบ No ABS นั้น เมื่อเราเพิ่มน้ำหนักในการเบรคเข้าไปมากขึ้นแรงดันน้ำมันก็เพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งมีความฝืดของล้อเพิ่มขึ้นรถก็ยิ่งชะลอตัวความเร็วลงจนหยุดรถในที่สุด
ข้อดีของระบบเบรคแบบ No ABS
- หยุดรถได้ทันที
- มีระยะเบรคที่สั้นกว่า
- มีค่าซ่อมบำรุงถูกกว่าระบบ ABS
ข้อเสียของระบบเบรคแบบ No ABS
- ล้อล็อกทันทีเมื่อกำเบรคกะทันหัน
- มีเสียงเบรคของล้อที่สัมผัสกับพื้นถนน
- เป็นอันตรายเมื่อเบรคบนพื้นถนนที่ลื่น
ความแตกต่างระหว่างระบบเบรค ABS และ No ABS
จากภาพด้านบนและคลิปวีดีโอด้านล่างจะแสดงให้ทุกท่านได้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างระบบเบรค ABS และ No ABS ซึ่งมีความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งทุกคนนั้นสามารถเห็นถึงการเบรคแบบธรรมดาหรือ No ABS ที่เมื่อมีการเบรคแล้วนั้นอาจส่งผลต่อผู้ขับขี่ ที่ขับขี่บนท้องถนนและกำเบรคในเวลากระทันหันเกิดการเสียหลักและอาจเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้ และหากเทียบกับรถที่ติดตั้งระบบเบรค ABS แล้ว ดูเหมือนว่าจะทำให้ผู้ขับขี่นั้นมีความปลอดภัยในการใช้เบรคที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่า