การขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์หรือการ สอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ในปัจจุบันนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนในอดีตแล้ว และในวันนี้ทางเว็บไซต์ bigbikeinfo.com จะพาทุกคนไปรู้จักกับขั้นตอนการสอบใบขับขี่ว่าต้องทำอย่างไรและมีเอกสารอะไรบ้าง หรือต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อใช้ในการขอรับใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ดังนั้น มาเตรียมความพร้อมเพื่อความสะดวกรวดเร็วก่อนทำใบขับขี่กัน
สอบใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ ใช้เอกสารอะไรและต้องทำอย่างไร
ใบอนุญาตขับขี่ หรือที่เรามักเรียกกันว่า ใบขับขี่ นั้นเป็นเอกสารที่แสดงว่าผู้ถือบัตรได้รับอนุญาตให้สามารถใช้รถใช้ถนนหรือขับขี่ได้บนถนนสาธารณะ โดยผู้ที่จะสามารถมีใบขับขี่ได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านเกณฑ์และการทดสอบจากทางขนส่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใบอนุญาตขับขี่นั้นมีหลายประเภทแต่วันนี้ทางเว็บไซต์จะมาแนะนำวิธีทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์นั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และต้องเตรียมตัวอย่างไร
คุณสมบัติของผู้ที่จะขอเข้ารับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์
สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่จะขอเข้าทดสอบเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่นั้นนับว่าเป็นสิ่งแรก และเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพราะว่าในส่วนของคุณสมบัติของผู้ที่จะขอทำใบขับขี่นั้นไม่ว่าจะเป็นอายุหรือความรู้ความสามารถและที่สำคัญโรคประจำตัวก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น มาดูกันว่าคุณสมบัติใดบ้างที่ผู้ที่จะขอทำใบขับขี่นั้นต้องมี
- อายุของผู้ที่จะขอทำใบขับขี่
– สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลชั่วคราว ผู้ขอใบขับขี่จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
– สำหรับรถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลที่มีขนาดความจุของกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ซีซี ผู้ขอใบขับขี่จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์
– สำหรับรถมอเตอร์ไซค์สาธารณะ ผู้ขอใบขับขี่จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ - มีความรู้ในข้อบังคับทางกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์
- มีความรูและความสามารถในการขับรถที่จะใช้ในการทดสอบ
- ผู้ขอใบขับขี่จะต้องไม่เป็นผู้ที่มี “ร่างกายพิการ” จนเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้นั้นไม่สามารถขับรถได้
- ผู้ขอใบขับขี่จะต้องไม่เป็นโรคประจำตัวหรือไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าผู้นั้นอาจเป็นอันตรายในขณะขับรถ
- ผู้ขอใบอนุญาตขับขี่จะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือมีจิตฟั่นเฟือน
- ไม่เป็นผู้ที่อยู่ในระหว่างการถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
- ไม่เป็นผู้ที่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
เอกสารที่ใช้ทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์
หลังจากทำการเช็คคุณสมบัติผู้เข้าทดสอบใบอนุญาตขับขี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนของการเตรียมเอกสารประกอบที่ใช้ในการขอทำใบขับขี่ ซึ่งการเตรียมเอกสารก่อนไปขอทำใบขับขี่นั้นจะช่วนให้ผู้เข้าขอรับบริการมีความรวดเร็วและไม่ติดขัดซึ่งเอกสารที่ใช้ในขอในอนุญาตขับขี่รถมอเตอร์ไซค์มีดังนี้
- บัตรประชาชน หรือ Passport (หนังสือเดินทาง) พร้อมสำเนา 1 ชุด
– กรณีชาวต่างชาติที่เป็นคนต่างด้าว สามารถยืนหนังสือเดินทาง (PASSPORT) หรือ ใบสำคัญบัตรประจำตัวคนต่างด้าว พร้อมสำเนาในการขอใบอณุญาติขับขี่ได้
– กรณีชาวต่างชาติ สามารถยืนใบอนุญาตการทำงาน (WORK PERMIT) หรือ ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ พร้อมสำเนาในการขอใบอณุญาติขับขี่ได้ ซึ่งเอกสารดังกล่าวจะต้องไม่สิ้นอายุ - ใบรับรองแพทย์ ที่มีอายุและใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด ซึ่งจะไม่เกิน 1 เดือน และใบรับรองแพทย์ใช้เพื่อแสดงว่าผู้ขอทำใบอนุญาตขับขี่ไม่มีโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายในขนาดขับรถ
- ใบรับรองการอบรม สำหรับท่านที่ทำการฝึกอบรมนอกกรมขนส่งหรือสอบใบขับขี่ผ่าน โรงเรียนสอนขับรถ
ขั้นตอนการดำเนินการขอรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ซึ่งทางเว็บไซต์จะแนะนำขั้นตอนตั้งแต่จองคิวในการเข้าอบรม จนถึง การชำระค่าธรรมเนียมและรับใบขับขี่ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่ทุกท่านคิดแต่เป็นการแจกแจงเพื่อความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงานของทางกรมขนส่งเพื่อความสะดวกในการใช้บริการขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์นั้นเองดังนั้นไปดูกันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
- จองคิวในการอบรม เป็นขั้นตอนที่ 1 สำหรับการดำเนินการเพื่อขอเข้ารับทดสอบทำใบอนุญาตขับขี่ โดยก่อนอื่นนั้นผู้ขอเข้าทดสอบ จะต้องทำการจองคิวในการอบรมซึ่งการอบรมนั้นจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโม ซึ่งผู้ขอเข้ารับการทดสอบนั้นสามารถจองได้ผ่าน 3 ช่องทางนี้
– จองคิวอบรมได้ที่กรมขนส่งทางบกใกล้บ้าน โดยการขอเข้ารับการฝึกอบรมทดสอบใบขับขี่นั้นสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ โดยการขอจองคิวเข้าฝึกอบรมได้ที่กรมขนส่งทางบกใกล้บ้างซึ่งจะเปิดให้ประชาชนสามารถจองคิวล่วงหน้าได้ด้วยตัวเอง พร้อมแนบหลักฐานประกอบคำขอตามที่แจ้งไว้เบื้องต้น *เอกสารที่ใช้ทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์
– จองคิวอบรมผ่านทางโทรศัพท์ ผู้ขอเข้ารับการทดสอบสามารถจองคิวได้ผ่านการโทรผ่านโทรศัพท์มือถือที่หมายเลข 02-271-8888 หรือ 1584 สำหรับผู้ที่จองคิวอบรมผ่านทางโทรศัพท์จะต้องมาลงทะเบียนเพื่อเข้าฝึกอบรมในวันที่นัดอบรมก่อนเวลา 08.00 น.
– จองคิวอบรมผ่านระบบออนไลน์ ผู้ขอเข้าทดสอบสามารถจองคิวการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ที่ลิงค์เว็บไซต์นี้ ebooking.dlt.go.th/ebooking - ทดสอบสมรรถนะร่างกาย หลังจากผู้ขอใบอนุญาตขับขี่ได้ทำการจองคิวเพื่อเข้าฝึกอบรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อันดับต่อไปในวันที่อบรมผู้ขอใบอนุญาตขับขี่จะต้องเข้ารับการตรวจสมรรถนะร่างกาย เพื่อตรวจสอบสายตา และตรวจเช็คผู้ขอทำใบขับขี่ว่ามีสมรรถภาพพร้อมที่จะสามารถขอรับใบอนุญาตขับขี่ได้ตามที่กรมขนส่งทางบกกำหนดหรือไม่ โดยจะแบ่งการทดสอบออกเป็น 4 หมวดได้แก่
– การทดสอบทางสายตาทางกว้าง โดยการทดสอบนี้เป็นการทดสอบเพื่อชี้วัดความสามารถในการมองเห็นของสายตาของผู้เข้ารับการทดสอบทั้งด้านซ้ายและด้านขวาซึ่งจะมีมุมกว้างให้ผู้เข้ารับการทดสอบใช้ในการทดสอบข้างละ 75 องศา
– การทดสอบการตอบสนองของเท้า โดยการทดสอบในรูปแบบนี้นั้นเพื่อทำการวัดความสามารถการตอบสนองของผู้ขับขี่ในการใช้งานเบรคและคันเร่งเพื่อเป็นการทดสอบให้ผู้เข้ารับการทดสอบสามารถหยุดรถได้ตามที่กำหนดให้เร็วที่สุด
– การทดสอบสายตาทางลึก เป็นการทดสอบเพื่อวัดการมองเห็นความลึกและความตื้นของมุมมองทางสายตา โดยใช้ระยะการทดสอบอยู่ที่ 2.50 ถึง 3.50 เมตร
– ทดสอบตาบอดสี สำหรับการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบเพื่อทดสอบการมองเห็นสีของผู้ขอรับการฝึกอบรมทำใบขับขี่ ว่าตาบอดสีหรือไม่ ซึ่งบอกได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก สำหรับการขับรถในถนนสาธารณะเพราะจะช่วยในการดูไฟและป้ายจราจรต่างๆ นั้นเอง - เข้ารับการอบรม สำหรับการเข้าฝึกอบรมนั้นทางกรมขนส่งเพื่อทำการปูพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้ทางกฎหมายทางบกได้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับ พ.ร.บ. จราจรให้กับผู้เข้าทดสอบที่เข้าอบรม เพื่อเป็นการทบทวนให้ผู้เข้าฝึกอบรมและเป็นการสร้างสำนึกการขับขี่บนท้องถนนให้แก่ผู้เข้าฝึกอบรมทำใบขับขี่ด้วยโดยเนื้อหาของการฝึกอบรมนั้นจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายจราจรทางบกและเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งหน้าที่การรับผิดชอบของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นต้น ซึ่งการฝึกอบรมครั้งนี้นั้นจะใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งสามารถแบ่งเนื้อหาการฝึกอบรมออกเป็นข้อและเป็นหมวดของเนื้อหาได้ดังนี้
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรทางบก 30 นาที
– ความรู้เทคนิคการขับขี่อย่างปลอดภัย 30 นาที
– ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายหมายการขนส่งทางบก กฎหมาย แพ่ง อาญา 30 นาที
– ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถ และการบำรุงรักษารถ 30 นาที
– ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ และมารยาทในการขับรถ 30 นาที
– ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย 30 นาที
– หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ 30 นาที
– หัวใจของการบริการทางขนส่ง 30 นาที
– การตรวจความพร้อมของรถก่อนและหลังการใช้งาน 30 นาที
– ความรู้เกี่ยวกับการขับรถลากจูง และการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัย 30 นาท - สอบข้อเขียน สำหรับการสอบข้อเขียนจะเป็นการสอบข้อเขียนเกี่ยวกับป้ายจราจรและกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายจราจรทางบก ซึ่งจะมีจำนวนข้อในการสอบข้อเขียนทั้งหมด 50 ข้อ โดยข้อสอบทั้งหมดนั้นจะเป็นข้อสอบปรนัย ก – ง ซึ่งการทดสอบข้อเขียนนี้จะเป็นการตัดสินว่าผู้เข้าทดสอบสามารถสอบผ่านเกณฑ์การทดสอบโดยมีคะแนนชี้วัดอยู่ที่ 45 คะแนน หรือ คิดเป็น 90% ของข้อสอบทั้งหมด หากสอบไม่ผ่านเกณฑ์ผู้ขอเข้ารับการทดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่นั้นสามารถเข้ามาขอสอบใหม่ได้โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
- สอบภาคปฏิบัติ สำหรับการสอบภาคปฏิบัติผู้ขอเข้าทดสอบสามารถทำการทดสอบโดยการใช้รถจักรยานยนต์ของตัวท่านเองเพื่อใช้ในการทดสอบหรือจะเป็นการเช่ารถจักรยานยนต์ของทางกรมขนส่งเพื่อใช้ในการสอบปฏิบัติได้เช่นกัน ซึ่งการสอบต้องขับขี่ตามท่าที่กำหนดไว้ทั้งหมด 5 ท่า ดังนี้
– ท่าที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์โดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
– ท่าที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ ทรงตัวบนทางแคบ ทรงตัวไว้โดยไม่ให้เท้าแตะพื้นประมาณ 10 วินาที
– ท่าที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้งแคบ รูปตัว Z
– ท่าที่ 4 ขับรถจักรยานยนต์ผ่านโค้ง รูปตัว S
– ท่าที่ 5 ขับรถจักรยานยนต์ซิกแซก ผ่านสิ่งกีดขวาง - ชำระค่าธรรมเนียมและรับใบขับขี่ หลังจากผู้ขอเข้ารับการทดสอบเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ผ่านการทดสอบทั้งข้อเขียนและภาคปฏิบัติพร้อมทั้งการฝึกอบรมเป็นที่เรียบร้อยแล้วอันดับสุดท้ายของการทําใบขับขี่รถจักรยานยนต์นั่นก็คือ การชำระค่าธรรมเนียม และ ถ่ายรูป เพื่อรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์ไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
– ค่าคำขอ 100 บาท
– ค่าใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 100 บาท
– ค่าซองใส่ใบขับขี่ 5 บาท (แจ้งไม่รับก็ได้)
เป็นอย่างไรบ้างครับสำหรับขั้นตอนการทำใบขับขี่ซึ่งทางที่ดีแนะนำว่าสาวกบิ๊กไบค์คนไหนที่ยังไม่มีใบขับขี่สามารถนำขั้นตอนเหล่านี้ไปใช้เป็นแนวทางก่อนเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อขออนุญาตใบขับขี่รถจักรยานยนต์ได้เช่นกัน เพื่อปลูกจิตสำนึกและพฤติกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมายในการขับรถตามท้องถนนสาธารณะและเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ดังนั้นใครที่ยังไม่มีใบขับขี่หรือไม่อนุญาตขับรถจักรยานยนต์รีบทำด่วน
ขอขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก : dlt.go.th
เรียบเรียงโดย : bigbikeinfo.com