เบรค ABS

ระบบ เบรค ABS และ ไม่มี ABS แตกต่างกันอย่างไร และ ABS มันคืออะไร

เบรค ABS และเบรค No ABS ระบบเบรคสองระบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และสำหรับ Bigbike แล้วระบบเบรคแบบ ABS และ No ABS แบบไหนเหมาะที่สุดสำหรับสาวกสองล้อ ดังนั้นวันนี้ทางเว็บไซต์ bigbikeinfo.com จะมาอธิบายความแตกต่างของระบบเบรคทั้งสองระบบนี้ให้กับสาวกสิงห์สองล้อทุกคนได้รู้จัดกันว่าทั้งสองระบบนี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างไร และประโยชน์ของระบบเบรคนี้ดีแค่ไหน

ระบบเบรคธรรมดา และ ABS
ระบบเบรคธรรมดา และ ABS

ทำความรู้จักกับระบบ เบรค ABS และ No ABS

ระบบเบรค abs หลายต่อหลายคนคงได้รู้จักและคงคุ้นเคยหรือได้ยินเกี่ยวกับระบบเบรค ABS กันมาพอสมควร ยิ่งในช่วงที่ผ่านมาที่มีข่าวเกี่ยวกับ นักวิชาการที่ได้ออกมาการันตีและรณรงค์ให้ติดตั้งระบบเบรค ABS จนมีกระแสว่าในปี 63 นี้ จะมีการบังคับให้มีการติดระบบเบรค ABS ให้กับรถจักรยานยนต์ใหม่ทุกคัน เพราะในปัจจุบันหลายๆ คนยังคงคิดว่ารถของท่านเองนั้นใช้รถที่มีการติดตั้งระบบเบรค ABS อยู่เพราะดูจากจานเบรค แต่แท้ที่จริงแล้วนั้นเบรคที่คุณใช้อยู่นั้นอาจจะเป็น No ABS ก็ได้ ดังนั้น วันนี้ทางเว็บไซต์ Bigbikeinfo.com จะมาอธิบายใก้ทุกคนได้ทราบเกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่าง ABS และ No ABS นั้นต่างกันอย่างไร

อนิเมะ ซับไทย , อนิเมะ

ระบบเบรค ABS (ระบบเบรคป้องกันล้อล็อก)

สำหรับระบบเบรคแบบ ABS เป็นชื่อเรียกที่เรียกกันติดหูกันเป็นประจำซึ่งย่อมาจาก Anti-Lock Brake System หรือระบบป้องกันการเบรคจนล้อล็อกตายเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการเบรคแล้วเกิดการลื่นไถลของตัวรถ โดยระบบ ABS จะมีส่วนประกอบของฟันเฟืองวงแหวนที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุน เซนเซอร์ติดตั้งอยู่ใกล้กับฟันเฟือง โดยในระบบเบรค ABS จะสั่งการผ่านเซ็นเซอร์ตัวนี้เพื่อใช้ในการปั้มเบรคไม่ทำงาน การทำงานของระบบ ABS จะทำงานโดยการจับ และ ปล่อยผ้าเบรคที่ 16-50 ครั้ง/วินาที ซึ่งระบบ ABS นั้นช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางได้ในขณะที่เหยียบเบรคกะทันหัน และสิ่งกีดขวางที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หากท่านต้องการทราบว่าระบบเบรค ABS มีหน้าที่อะไรและทำงานอย่างไร ท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ ระบบเบรค abs คืออะไร

ข้อเสียของระบบเบรคแบบ ABS

  1. เมื่อระบบเบรคทำงานจะมีเสียงดัง อาจทำให้ผู้ขับขี่ตกใจได้
  2. มีค่าซ่อมบำรุงแพงกว่าเบรคธรรมดา
  3. ผู้ขับขี่จะได้รับแรงสะเทือนเมื่อระบบเบรคทำงาน
  4. ทำให้ระยะเบรคยาวขึ้น

ข้อดีของระบบเบรคแบบ ABS

  1. ป้องกันล้อล็อกเมื่อต้องเบรคกะทันหัน
  2. ยางไม่สึกหรอเร็วกว่าปกติ
  3. สามารถหักหลบสิ่งกีดขวางได้

ระบบเบรค No ABS (เบรคธรรมดา )

สำหรับระบบเบรคแบบ No ABS หรือ เบรคธรรมดา จะพบเห็นกันบ่อยๆ ในรถจักรยานยนต์ทั่วไปซึ่งเป็นรถที่เป็นปีที่เก่าๆ สำหรับการใช้เบรคธรรมดาในขณะที่เราทำการกำเบรคลงที่มือเบรคเพื่อต้องการชะลอและหยุดรถนั้น การกำเบรคจะถูกส่งไปยังแม่ปั้มเบรคที่เรียกว่า (Master Cylinder) เพื่อทำหน้าที่ในการอัดแรงดันน้ำมันของเบรคออกไปทางท่อน้ำมันเบรคผ่านวาล์วแยก ไปถึงตัวเบรคหรือปั๊มเบรคที่จะถูกติดตั้งอยู่บริเวณดุมล้อของรถจักรยานยนต์และรถบิ๊กไบค์ของเรา

ระบบเบรค No ABS
ระบบเบรค No ABS

โดยการทำงานของปั๊มเบรคเมื่อมีแรงดันน้ำมันลูกปั๊มเบรคจะทำหน้าที่ดันแผ่นผ้าเบรคให้ไปเสียดสีและเสียดทานกับชุดจานเบรคที่อยู่ใกล้กับจานดิสเบรคเพื่อทำหน้าที่ชะลอความเร็วของรถให้มีความฝืดขึ้น ล้อก็เริ่มหมุนช้าลง ซึ่งในระบบเบรคธรรมดาหรือระบบเบรคแบบ No ABS นั้น เมื่อเราเพิ่มน้ำหนักในการเบรคเข้าไปมากขึ้นแรงดันน้ำมันก็เพิ่มมากขึ้นก็ยิ่งมีความฝืดของล้อเพิ่มขึ้นรถก็ยิ่งชะลอตัวความเร็วลงจนหยุดรถในที่สุด

ข้อดีของระบบเบรคแบบ No ABS

  1. หยุดรถได้ทันที
  2. มีระยะเบรคที่สั้นกว่า
  3. มีค่าซ่อมบำรุงถูกกว่าระบบ ABS

ข้อเสียของระบบเบรคแบบ No ABS

  1. ล้อล็อกทันทีเมื่อกำเบรคกะทันหัน
  2. มีเสียงเบรคของล้อที่สัมผัสกับพื้นถนน
  3. เป็นอันตรายเมื่อเบรคบนพื้นถนนที่ลื่น
ระบบเบรค ABS และ No ABS
ระบบเบรค ABS และ No ABS

ความแตกต่างระหว่างระบบเบรค ABS และ No ABS

จากภาพด้านบนและคลิปวีดีโอด้านล่างจะแสดงให้ทุกท่านได้เห็นถึงความแตกต่างกันระหว่างระบบเบรค ABS และ No ABS ซึ่งมีความแตกต่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งทุกคนนั้นสามารถเห็นถึงการเบรคแบบธรรมดาหรือ No ABS ที่เมื่อมีการเบรคแล้วนั้นอาจส่งผลต่อผู้ขับขี่ ที่ขับขี่บนท้องถนนและกำเบรคในเวลากระทันหันเกิดการเสียหลักและอาจเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุได้  และหากเทียบกับรถที่ติดตั้งระบบเบรค ABS แล้ว ดูเหมือนว่าจะทำให้ผู้ขับขี่นั้นมีความปลอดภัยในการใช้เบรคที่ดีและมีประสิทธิภาพกว่า